เมนู

ชื่อว่า ย่อมถึงความลำเอียงเพราะหลง. เมื่อไม่อาจจะทิ้งเพราะกลัวภิกษุ
ผู้รับรูปิยะ ชื่อว่าย่อมถึงความลำเอียงเพราะกลัว. ภิกษุผู้ไม่กระทำอย่างนี้
บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมไม่ถึงความลำเอียงเพราะชอบกัน ฯลฯ ย่อมไม่ถึง
ความลำเอียงเพราะกลัว.
สองบทว่า อนิมิตฺตํ กตฺวา ได้แก่ ไม่กระทำให้มีที่หมาย. อธิบายว่า
ภิกษุผู้ทิ้งรูปิยะนั้น หลับตาแล้ว ไม่เหลียวดูดุจคูถคือไม่กำหนดหมายที่ตก
พึงทิ้งให้ตกไปในแม่น้ำ ในเหว หรือในพุ่มไม้. ในรูปิยะแม้อันภิกษุ
พึงรังเกียจอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสบอกการบริโภคใช้สอย แก่
ภิกษุทั้งหลายโดยปริยาย. ก็การบริโภคปัจจัยที่เกิดขึ้นจากรูปิยะนั้น ย่อม
ไม่สมควรแก่ภิกษุผู้รับรูปิยะ โดยปริยายไร ๆ เลย. ก็การบริโภคปัจจัย
ที่เกิดขึ้นนี้ ไม่ควรแก่ภิกษุผู้รับรูปิยะนั่น ฉันใด. ปัจจัยที่เกิดขึ้น เพราะ
การอวดอุตริมนุสธรรมอันไม่มีจริงก็ดี เพราะกุลทูสกกรรมก็ดี เพราะ
การหลอกลวงเป็นต้นก็ดี ย่อมไม่ควรแก่ภิกษุนั้น และแก่ภิกษุอื่น ฉันนั้น
ถึงปัจจัยที่เกิดขึ้นโดยธรรมโดยสม่ำเสมอ ยังไม่ได้พิจารณา จะบริโภค
ก็ไม่ควร.

[อธิบายการบริโภคปัจจัยมี 4 อย่าง]


จริงอยู่ การบริโภค มี 4 อย่าง คือ ไถยบริโภค (บริโภคอย่าง
ขโมย ) 1 อิณบริโภค (บริโภคอย่างเป็นหนี้ ) 1 ทายัชชบริโภค (บริโภค
อย่างเป็นผู้รับมรดก) 1 สามีบริโภค (บริโภคอย่างเป็นเจ้าของ) 1. บรรดา
การบริโภค 4 อย่างนั้น การบริโภคของภิกษุผู้ทุศีลซึ่งนั่งบริโภคอยู่
แม้ในท่ามกลางสงฆ์ ชื่อว่า ไถยบริโภค. การบริโภคไม่พิจารณาของ

ภิกษุผู้มีศีล ชื่อว่า อิณบริโภค. เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้มีศีลพึงพิจารณา
จีวรทุกขณะที่บริโภคใช้สอย บิณฑบาตพึงพิจารณาทุก ๆ คำกลืน. เมื่อ
ไม่อาจอย่างนั้น พึงพิจารณาในกาลก่อนฉัน หลังฉัน ยามต้น ยามกลาง
และยามสุดท้าย. หากเมื่อเธอไม่ทันพิจารณาอรุณขึ้น, ย่อมตั้งอยู่ในฐานะ
บริโภคหนี้. แม้เสนาสนะ ก็พึงพิจารณาทุก ๆ ขณะที่ใช้สอย . ความมี
สติเป็นปัจจัยทั้งในขณะรับทั้งในขณะบริโภคเภสัช ย่อมควร. แม้เมื่อ
เป็นอย่างนั้น ก็เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ทำสติในการรับ ไม่ทำในการบริโภค
อย่างเดียว. แต่ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่ทำสติในการรับ ทำแต่ในเวลา
บริโภค.
ก็สุทธิมี 4 อย่าง คือ เทสนาสุทธิ (หมดจดด้วยการแสดง) 1
สังวรสุทธิ (หมดจดด้วยสังวร) 1 ปริยิฎฐิสุท1ธิ (หมดจดด้วยการแสวงหา) 1
ปัจจเวกขณสุทธิ (หมดจดด้วยการพิจารณา) 1. บรรดาสุทธิ 4 อย่างนั้น
ปาฎิโมกขสังวรศีล ชื่อว่าเทสนาสุทธิ. ก็ปาฎิโมกขสังวรศีลนั้น ท่านเรียก
ว่า เทสนาสุทธิ เพราะบริสุทธิ์ด้วยการแสดง. อินทรียสังวรศีล ชื่อว่า
สังวรสุทธิ. ก็อินทรียสังวรศีลนั้น ท่านเรียกว่า สังวรสุทธิ เพราะ
บริสุทธิ์ด้วยสังวร คือ การตั้งจิตอธิษฐานว่า เราจักไม่ทำอย่างนี้อีก
เท่านั้น. อาชีวปริสุทธิศีล ชื่อว่า ปริยิฎฐิสุทธิ.1 ก็อาชีวปาริสุทธิศีลนั้น
ท่านเรียกว่า ปริยิฎฐิสุทธิ2 เพรา.่เป็นความบริสุทธิ์ด้วยการแสวงหา
ของภิกษุผู้ละอเนสนาแล้วยังปัจจัยทั้งหลายให้เกิดขึ้นโดยธรรม โดยสม่ำ
เสมอ. ปัจจัยบริโภคสันนิสสิตศีล ชื่อว่า ปัจจเวกขณสุทธิ. จริงอยู่
ปัจจัยบริโภคสันนิสสิตศีลนั้น ท่านเรียกว่า ปัจจเวกขณสุทธิ เพราะ
1-2. ในที่อื่น ๆ เป็น ปริเยฏฐิสุทธิ.

บริสุทธิ์ด้วยการพิจารณาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยนัยมีอาทิว่า ภิกษุ
ย่อมพิจารณาโดยแบบคายแล้วเสพจีวร ดังนี้. เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึง
กล่าวว่า แต่ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่ทำสติในการรับ ทำแต่ในการ
บริโภค. การบริโภคปัจจัยของพระเสขะ 7 จำพวก ชื่อว่า ทายัชชบริโภค.
จริงอยู่ พระเสขะ 7 จำพวกนั้น เป็นพระโอรสของพระผู้มีพระภาคเจ้า;
เพราะฉะนั้น จึงเป็นทายาทแห่งปัจจัยอันเป็นของพระพุทธบิดา บริโภคอยู่
ซึ่งปัจจัยเหล่านั้น.
ถามว่า ก็พระเสขะเหล่านั้น บริโภคปัจจัยของพระผู้มีพระภาคเจ้า
หรือบริโภคปัจจัยของพวกคฤหัสถ์ ?
ตอบว่า ปัจจัยเหล่านั้น แม้อันพวกคฤหัสถ์ถวาย ก็จริง. แต่ชื่อว่า
เป็นของพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้
เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า พระเสขะเหล่านั้น บริโภคปัจจัยของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า. ก็ธรรมทายาทสูตร เป็นเครื่องสาธกในการบริโภค
ปัจจัยของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้.
การบริโภค ของพระขีณาสพทั้งหลาย ชื่อว่า สามีบริโภค. จริงอยู่
พระขีณาสพทั้งหลายเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นเจ้าของบริโภคเพราะล่วงความ
เป็นทาสแห่งตัณหาได้แล้ว. บรรดาการบริโภคทั้ง 4 นี้ สามีบริโภคและ
ทายัชชบริโภค ย่อมควรแม้แก่ภิกษุทุกจำพวก. อิณบริโภค ไม่สมควร
เลย. ในไถยบริโภค ไม่มีคำจะพูดถึงเลย.

[อธิบายว่าการบริโภคอีก 4 อย่าง]


การบริโภคแม้อื่นอีก 4 คือ ลัชชีบริโภค อลัชชีบริโภค ธัมมิย-
บริโภค อธัมมิยบริโภค. บรรดาการบริโภค 4 อย่างนั้น การบริโภค